วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

นวัตกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

                                

ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด
ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการสื่อสารพัฒนาการเรียนรู้
สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)


ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ผนวกกับความพากเพียรอุตสาหะได้รังสรรค์สิ่งใหม่ๆออกมาในโลกอยู่ตลอดเวลา เราเรียกสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นนี้ว่า “นวัตกรรม” นวัตกรรมตรงกับคำว่า “innovation” ในภาษาอังกฤษ โดยที่ในภาษาอังกฤษคำกริยาว่า innovate นั้นมีรากศัพท์มาจากคำภาษาลาตินว่า innovare ซึ่งแปลว่า “to renew” หรือ “ทำขึ้นมาใหม่” คนทั่วไปมักจะเข้าใจผิด คิดว่านวัตกรรมเป็นคำที่เกี่ยวข้องเฉพาะสิ่งใหม่ๆที่เกิดขึ้นในวงการด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งในเรื่องนี้สมเด็จพระเทรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงอธิบายไว้ในการแสดงปาฐกถาเรื่อง “เทคโนโลยี นวัตกรรม กับการพัฒนาประเทศ” ในการประชุมประจำปีของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2542 มีใจความตอนหนึ่งว่า

“... คนเรานั้นจะต้องมี นวัตกรรม คือต้อง innovative หรือต้องรู้จักสร้างสรรค์ ต้องมีความพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า ปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก แต่ว่าก็ต้องสามารถปรับโลกให้เหมาะสมสอดคล้องกับความเป็นอยู่หรือความพอใจ ความสุขสบายของตัวเองเหมือนกัน ต้องแก้ปัญหาด้วยความคิด พอทางหนึ่งตันก็ต้องหาทางใหม่ ไม่งอมืองอเท้ายิ่งใน ภาวะวิกฤต ยิ่งต้องการนวัตกรรม ซึ่งไม่เฉพาะแต่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเท่านั้น หากแต่เป็นนวัตกรรมของทั้งระบบโดยรวม ตั้งแต่สังคม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรม...”

นวัตกรรมทางด้านการเรียนรู้ก็เช่นกัน จะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องอาศัย “วิถีคิด” ที่ออกนอกกรอบเดิมพอสมควร คือจะต้องออกนอก “ร่อง” หรือช่องทางเดิมๆที่เคยชิน เรียกได้ว่าจะต้องพลิกกระบวนทัศน์ (shift paradigm) ที่มีอยู่เดิมเกี่ยวกับการเรียนรู้เสียใหม่ จากที่เคยเข้าใจว่า การเรียนรู้ก็คือการศึกษาเพียงเพื่อให้ได้รู้ไว้ มาเป็นการเรียนรู้ที่นำมาใช้พัฒนางาน พัฒนาชีวิต ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้แบบหลังนี้จึงเป็นความรู้ชนิดที่แนบแน่นอยู่กับ งาน เกี่ยวพันอยู่กับปัญหา เป็นความรู้ที่มีบริบท (context-riched) ไม่ใช่ความรู้ที่อยู่ลอยๆ ไม่สัมพันธ์หรืออิงอยู่กับบริบทใดๆ (contextless) การเรียนรู้ตามกระบวนทัศน์ใหม่นี้จึงมักจะเริ่มต้นด้วยการพัฒนาตัวโจทย์ขึ้น มาก่อนโดยใช้ปัญหาหรือสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงเป็นหลัก เรียกได้ว่ามีความต้องการที่จะแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น จึงเป็นแรงผลักดันทำให้เกิดการเรียนรู้นี้ขึ้น การเรียนรู้ประเภทนี้เรียกได้ว่าเป็นการเรียนรู้แบบอุปสงค์ (demand-side learning) คือ มีความประสงค์ มีความต้องการที่จะทำอะไรบางอย่าง แล้วจึงเกิดการเรียนรู้ขึ้นมา ซึ่งจะตรงกันข้ามกับการเรียนรู้แบบที่เราคุ้นเคยกันดีในระบบการศึกษา ที่มักจะเน้นการถ่ายทอดความรู้จากครูไปสู่นักเรียน คือจากผู้รู้ไปสู่ผู้เรียน คือมีลักษณะเป็นการเรียนรู้แบบอุปทาน (supply-side learning) ซึ่งข้อเสียที่เห็นได้ชัดเจนของการเรียนรู้แบบนี้ก็คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นครูต้องคอยป้อน(ยัด) ความรู้เหล่านี้เข้าปาก(หัว) ผู้เรียนอยู่ตลอดเวลา โดยมักจะใช้การประเมิน การวัดผล หรือการสอบ เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับใช้ “ผลัก” หรือ “ดัน” ให้คนหันมาสนใจตั้งใจเรียน การเรียนรู้แบบนี้ครูจึงมีหน้าที่หลักในการ “ผลัก” หรือ “push” ให้เกิดการเรียนรู้ มากกว่าที่จะปล่อยให้ผู้เรียน “ฉุด” หรือ “ดึง” (pull) ตัวเองไปโดยใช้ความสนใจหรือความต้องการที่จะเรียนรู้เป็นตัวดึง ซึ่งก็คือแรงบันดาลใจที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนเองโดยไม่ต้องให้ใครมาออกแรง ผลัก ออกแรงดันดังเช่นที่ทำกันอยู่ในทุกวันนี้

การเรียนรู้ภายใต้กระบวนทัศน์ใหม่นี้จะสร้างมุมมองที่ค่อนข้างจะเป็นองค์รวม (holistic view) คือมองเห็นงาน เห็นปัญหา เห็นชีวิต ว่าเป็นสิ่งเดียวกัน มองว่าปัญหาเป็นส่วนหนึ่งของงาน และมองเห็นงานเป็นกระบวนการที่สำคัญของชีวิต จนอาจเข้าใจลึกซึ้งถึงขั้นที่เห็นว่า “การทำงานคือการปฏิบัติธรรม” ตามคำกล่าวของท่านอาจารย์พุทธทาสเลยทีเดียว ในขณะที่กระบวนทัศน์เดิมจะมองงานด้วยสายตาที่คับแคบกว่ามาก คือมองเห็นงานว่าเป็นเรื่องของการทำมาหากินประกอบอาชีพ เพื่อให้ได้เงินมาสำหรับจับจ่ายใช้สอยเพียงเท่านั้น ผู้ที่คิดเช่นนี้ มักจะเห็นงานว่าเป็นสิ่งที่ยากลำบาก เป็นสิ่งที่ต้องทนทำไป เพียงเพื่อให้ได้เงินมาจึงจะมีความสุข หลายคนถึงกับบ่นกับตัวเองว่า เมื่อไรจะถึงวันหยุด เมื่อไรจะถึงวันเสาร์-อาทิตย์ (สำหรับคนที่ทำงานออฟฟิศ หรือรับราชการ) ซึ่งการคิดแบบนี้จะเห็นได้ทันทีว่าพวกเขาเหล่านี้จะมีชีวิตที่ “ขาดทุน” ไปทุกๆสัปดาห์ เพราะสัปดาห์หนึ่งๆ จำต้องทนทุกข์ทรมานไป 5 วัน โดยที่รู้สึกสุขได้เพียงแค่ 2 วัน เรียกว่าต้องขาดทุนสะสมไปเรื่อยๆทุกสัปดาห์ แต่ภายใต้กระบวนทัศน์ใหม่นี้ที่มองเห็นงาน ปัญหา และชีวิตว่าเป็นสิ่งเดียวกัน จะทำให้เราเข้าใจสิ่งที่ท่านอาจารย์พุทธทาสพร่ำสอนอยู่เสมอว่า “ความสุขที่แท้ มีอยู่แต่ในงาน”

การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ตามที่ได้ กล่าวมาแล้วนั้น ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญยิ่งสำหรับสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ แต่ลำพังเพียงแค่การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์หรือวิถีคิด ก็มิได้หมายความว่านวัตกรรมการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้เองโดยปริยาย จำเป็นจะต้องอาศัยปัจจัยและองค์ประกอบอื่นๆมาอุดหนุนเกื้อกูลจึงจะประสบผล สำเร็จ ในบทความนี้จะขอหยิบยก 3 องค์ประกอบหลัก ที่ถือว่าจำเป็นต่อการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น ซึ่งก็ได้แก่ (1) เวลา (2) เวที และ (3) ไมตรี

เพลงสำหรับเด็กปฐมวัย


เด็กปฐมวัยกับเทคโนโลยี

                           
           ประเทศไทยได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยสอนเป็นเวลานานพอสมควร ในยุคแรกของการใช้คอมพิวเตอร์กับเด็กนั้น ยังไม่เป็นที่นิยมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ยังเป็นการแสดงออกเฉพาะที่เป็นตัวหนังสือ บางโปรแกรมอาจมีภาพกราฟิกประกอบบ้างเล็กน้อย ซึ่งไม่น่าสนใจ แม้ในต่างประเทศก็ไม่นิยม ต่อมาเมื่อฮารดแวร์และซอฟแวร์พัฒนามากขึ้น จึงเป็นที่นิยมโดยแพร่หลาย คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย จะมีซอฟแวร์ที่เรียกว่า Edutainment มาจากคำว่า Education (การศึกษา) บวกกับคำว่า Entertainment (ความบันเทิง) ซอฟแวร์แบบนี้เมื่อเวลาเด็กใช้เรียน เด็กจะได้ทั้งการเรียนรู้กับความบันเทิง ทั้งนี้โดยจุดประสงค์หลักของการผลิตซอฟแวร์สำหรับเด็ก จะไม่เน้นเด็กให้เกิดการเรียนรู้เฉพาะเนื้อหาอย่างเดียว แต่ต้องสนุกกับการเรียนนั้น ด้วยลักษณะของซอฟแวร์ที่เป็นสื่อผสม (Multimedia) หมายถึง การใช้สื่อหลายๆ แบบประกอบกัน มีทั้งข้อความ (text) ภาพนิ่ง ภาพที่เคลื่อนไหวได้ มีเสียง ในการใช้ซอฟแวร์ที่เป็นสื่อผสมนี้ จะต้องมีคอมพิวเตอร์ที่เป็นสื่อผสมด้วย กล่าวคือ มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีซีดีรอมไดรฟ์ (CD Rom drive) และในเครื่องต้องมีที่เล่นเสียง เล่นภาพด้วย นอกจากนี้ต้องมีซอฟแวร์โดยทั่วไป Edutainment จะบรรจุอยู่ในแผ่นซีดี หรือ คอมแพคดิส(Compactdisc) ซึ่งมีบริษัทหลายบริษัททั้งในประเทศและต่างประเทศที่ผลิตขายโดยมีเรื่องหลากหลายที่เราสามารถเลือกได้ แต่ในปัจจุบันได้มีหลายหน่วยงานและหลายบริษัท ได้จัดทำเป็น อินเตอร์เน็ต (internet) ซึ่งเราสามารถเลือกใช้ได้โดยไม่ต้องใช้ดิสค์อย่างที่เราใช้กันอยู่

ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย

                     
                               

             สำหรับเด็กปฐมวัย เด็กปฐมวัยในวัย 1 – 3เด็กวัยนี้โครงสร้างสมองซีกขวาซึ่งเกี่ยวกับศิลปะ จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ดีมาก ถ้าส่งเสริมอย่างถูกทิศถูกทางและทำให้เกิดพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อไหร่ที่เราไปขัดขวางพัฒนาการ บีบบังคับ สร้างความเป็นระบบแบบแผนมากเกินไป ล้วนแล้วแต่เป็นตัวขัดขวางจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ไทยยังไม่มีความเข้าใจในการพัฒนาเด็กให้มีความคิดสร้างสรรค์ จะเห็นว่าทุกวันนี้เราพยายามสร้างกระบวนการคิดสร้างสรรค์ให้แก่เด็กไทยมาก ขึ้น หากแต่บางครั้งก็ยังไม่มีความเข้าใจมากพอ เด็กแต่ละวัยมีความแตกต่างกันในการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างกระบวนการคิดสร้าง สรรค์จึงต้องต่างกันไป เด็กในวัย 1 – 3 ปีต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ เราจะเน้นให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน เมื่อเขาสนุกและเพลิดเพลิน แล้วจะทำให้เขาสามารถคิดอะไรได้แปลกใหม่อย่างมีอิสระและเสรีภาพ คนที่จะสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กต้องเข้าใจ มิฉะนั้นจะไม่สามารถสร้างสถานการณ์ของการเรียนการสอนได้ ในการพัฒนาเสรีภาพการเขียนการคิดได้อย่างแท้จริง วิชาศิลปะเป็นวิชาที่เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดจินตนาการได้เต็มที่ตาม ที่ได้เห็น เด็กสามารสร้างจินตนาการได้กว้างกว่าที่เราจะคาดเดาได้ บางที ก็อาจจะสะท้อนจิตใจความรู้สึกของเด็กที่บางที่ไม่สามารถถ่ายทอดเป็นคำพูดได้ แต่สามารถถ่ายทอดมาทางงานศิลปะได้ วิชาศิลปะเป็นฐานทางการศึกษาพัฒนาการเด็กซึ้งควรเริ่มตั้งแต่เด็กยังเล็ก อยู่การเรียนการสอนศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยนั้นจะมุ่งเน้นถึงพัฒนาการด้าน ต่างๆของเด็กมากกว่าผลงาน ดังนั้นจะเห็นว่ากิจกรรมต่างๆทางศิลปะจะเป็นการฝึกกล้ามเนื้อมือให้แข็งแรง และสัมพันธ์กับการใช้ตา เช่นการปั้นแป้ง ดินน้ำมัน วาดรูป และระบายสี เด็กได้ใช้ส่วนต่างๆของนิ้วมือ แขน ไหล่ และส่วนอื่นๆของร่างกาย เป็นการเตรียมความพร้อมในด้านการใช้กล้ามเนื้อใหญ่-เล็กเป็นอย่างดี ทำให้เด็กสามารถหยิบจับสิ่งต่างๆได้ อันจะนำไปสู่การเรียนของเด็กต่อไป ศิลปะกับความคิดสร้างสรรค์ นักจิตวิทยาทางการศึกษาทั่วโลกเชื่อกันว่าเด็กทุกคนมีความคิดริเริ่มสร้าง สรรค์และสามารถพัฒนาให้เจริญงอกงามได้ตามระดับความสามารถของแต่ละบุคคล ถ้าหากเด็กนั้นๆได้รับการเสริมและสนับสนุนให้มีการแสดงออกภายใต้บรรยากาศที่ มีเสรีภาพ สำหรับเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ในตัว สามารถพิจารณาจากพฤติกรรมได้หลายด้านดังนี้1.การเป็นผู้กระตือรือร้นอยู่ ตลอดเวลา2.การเป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆด้วยความคิดของตนเอง3.การเป็นผู้ ชอบสำรวจตรวจสอบความคิดใหม่ๆ4.การเป็นผู้เชื่อมั่นในความคิดของตังเอง 5.การเป็นผู้สอบสวนสิ่งต่างๆ6.การเป็นผู้มีประสาทสัมผัสอันดีต่อความงาม จะเห็นได้ว่าการสร้างสรรค์ คือการเจริญงอกงามทั้งด้านความคิด ร่างกาย และพฤติกรรมและศิลปะคือ เครื่องมือที่ดีและเหมาะสมที่สุดในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เพราะกระบวนการทางศิลปะไม่มีขอบเขตแห่งการสิ้นสุด สามารถสร้างความเพลิดเพลินให้แก่เด็กได้ตลอดเวลานอกจากนี้ยังช่วยให้เด็ก เกิดความคิดที่ต่อเนื่องอย่างไม่จบสิ้น และก้าวไปยังโลกแห่งจินตนาการอย่างไม่มีขอบเขต การวาดรูป (drawing)และการระบายสี (Painting)เป็นกิจกรรมหนึ่งซึ่งช่วยในการทำงานประสานกันระหว่างมือและตา เด็กจะรู้จัก สี เส้น รูปทรง พื้นผิว ขนาดที่จะต้องพบในชีวิตประจำวันของเขา ภาพที่จะเห็นต่อไปนี้เป็นภาพที่วาดโดยเด็กปฐมวัยอายุ 3-4 ขวบ เป็นภาพที่วาดตามความคิดและจินตนาการของเด็กเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งซึ้งช่วยใน การทำงานประสานกันระหว่างมือและตา เด็กจะรู้จัก สี เส้น รูปทรง พื้นผิว ขนาดที่จะต้องพบในชีวิตประจำวันของเขา และกิจกรรมนี้จะสอนให้เด็กๆวาดรูปได้ โดยเริ่มจากเส้นก่อน สำหรับน้องๆที่เพิ่งเริ่มหัดวาดรูป จากนั้นจะหัดวาด สิ่งต่างๆรอบตัว เด็กๆจะได้รู้จักกับรูปร่าง Shape และรูปทรง Form ต่างๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการวาดในขั้นสูงต่อๆไป ส่วนการระบายสีภาพนั้นเด็กๆจะได้ฝึกใช้สีหลายๆชนิด ได้แก่ สีไม้ สีชอลค์ สีน้ำ สีโปสเตอร์ สีเมจิก สีเทียน สีอะครีลิค สีผสมอาหาร พร้อมทั้งรู้วิธีการระบายสีให้เกิดความสวยงาม การปั้นหรือที่เรียกว่างานปะติมากรรม (Sculpture)เด็กๆจะได้เรียนรู้การปั้น modellingแบบง่ายๆโดยใช้ดินน้ำมันที่มีสีสันต่างๆเรียนรู้เทคนิค การปั้นแบบนูนต่ำ แบบนูนสูงและลอยตัว เพื่อฝึกกล้ามเนื้อมือนอกจากนี้เด็กๆยังได้ทำงานปะติมากรรมแขวนหรือโม บายล์mobile เด็กๆใช้ดินน้ำมันหรือ ดินเหนียว แป้งโด ฯลฯ มาปั้นเป็นรูปต่างๆตามจินตนาการของเด็กแต่ละคนซึ้งจะแตกต่างกันไป เป็นการฝึกสมาธิ และพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆของเด็กเด็กจะได้เรียนรู้รูปร่างต่างๆ กิจกรรมกระดาษ (Papers) เด็กๆจะได้ฉีก ตัด ปะ ม้วน พับขยำกระดาษต่างๆ เช่น กระดาษสี กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษทิชชู่ หนังสือแมกกาซีนต่างๆ ที่เป็นกระดาษอาบมัน กระดาษกล่อง ฯลฯ และนำมาสร้างสรรค์ให้เกิดงานศิลปะต่างๆ การพิมพ์ภาพ (paint Making)เป็นการสร้างภาพหรือลวดลายที่เกิดจากการนำวัสดุหลายๆประเภท เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ ก้านกล้วย หรืออวัยวะของร่างกาย เช่น มือ เท้า มาใช้เป็นแม่พิมพ์กดทับลงบนสีแล้วนำไปพิมพ์บนกกระดาษหรือผ้าก็ได้ และเด็กๆจะได้พิมพ์ภาพจากวัสดุต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วไปและวัสดุที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น ใบไม้ ดอกไม้ ก้านกล้วย มันเทศ ฯลฯ มาทำให้เกิดเป็นภาพต่างๆ เป็นการเรียนรู้ วิธีการ และเทคนิคใหม่ๆ ในการทำงานอีกด้วย การประดิษฐ์สร้างสรรค์(Creative Crafts) เด็กๆจะได้ทำงานประดิษฐ์ ที่ทำจากวัสดุต่างๆ เช่น กล่อง กระป๋องนม ลูกปัด หลอด ไม้ไอติม เศษผ้า ริบบิ้น ฯลฯ ทำให้เกิดประสบการณ์ทางด้านความคิด สร้างสรรค์และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เรียนศิลปะช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไร ทำให้เด็กได้ฝึกการใช้จินตนาการอย่างอิสระ ซึ่งจะมีผลให้เด็กเป็นคนกล้าคิด กล้าริเริ่มสิ่งใหม่ๆทำให้เด็กได้แสดงออกถึงสิ่งที่ตนคิดและรู้สึกโดยเฉพาะ ในเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถสื่อสารทางตัวอักษรได้ดีทำให้เด็กรักการทำงานและ มีความภาคภูมิใจในตนเอง เมื่อการสร้างสรรค์งานศิลปะของเด็กแต่ละชิ้นเสร็จสิ้นลง เด็กจะรู้สึกภาคภูมิใจกับผลงานของเขามาก ทำให้กระตือรือร้นที่จะสร้างผลงานชิ้นใหม่ต่อไปช่วยฝึกความประณีตและสมาธิ เพราะในขณะที่เด็กพยายามควบคุมมือให้สามารถวาด ระบายสีหรือประดิษฐ์สิ่งหนึ่งสิ่งใดให้สำเร็จนั้นต้องใช้ความตั้งใจ ความพยายามและใช้สมาธิที่แน่วแน่มั่นคงตามวุฒิภาวะของเด็กแต่ละวัย ทำให้เด็กเป็นคนมีสุนทรียภาพ มีความละเอียดอ่อนในจิตใจ ทำให้รู้คุณค่าในธรรมชาติ ศิลป วัตถุ หรือรูปแบบความคิดต่างๆ ทำให้มีชีวิตและจิตใจที่งดงาม ฝึกให้เด็กรู้จักการทำงานร่วมกัน รู้จักปรับตัวและปรับความคิดให้สอดคล้อง ยอมรับซึ่งกันและกัน อันเป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างสามัคคีและเป็นประชาธิปไตยในสังคม ประโยชน์ของการส่งเสริมเด็กทางด้านศิลปะ เป็นการฝึกทักษะทางด้านศิลปะให้ดีขึ้น ให้เด็กกล้าคิดกล้าแสดงออกอย่างอิสระ รู้จักแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ทำให้มีสมาธิในการเรียนที่ดีขึ้น และยังมีผลถึงพัฒนาการด้านอื่นๆทั้งหมด การที่เด็กได้ทำมาก ฝึกฝนมากจะยิ่งช่วยให้เด็กเกิดความชำนาญมากขึ้นอีกด้วย ถือเป็นการสั่งสมประสบการณ์อันมีค่ายิ่งของเด็ก หากเด็กได้รับการสนับสนุนให้สร้างสรรค์ศิลปะ อย่างต่อเนื่องก็เท่ากับว่าเป็นทางหนึ่งซึ่งสั่งสมความคิดสร้างสรรให้เกิด ขึ้นกับเด็ก อย่างต่อเนื่องเช่นกัน เพราะศิลปะมีกระบวนการ และธรรมชาติที่เอื้อแก่การพัฒนาทางสมอง เพื่อเพิ่มพูนความคิดสร้างสรรค์มากที่สุดยิ่งเด็กมากเท่าไร สติปัญญาของเด็กก็จะเติบโตมากเท่านั้น และหากการได้คิดมากๆ คือการทำให้สมองแหลมคม การที่เด็กได้ขีดเส้นลงไปแต่ละเส้น หรือระบายสีก็ล้วนมีผลทำให้สมองได้ทำงานอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

 
            การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย:ตามแนวคิดไฮสโคป เป็นการถอดแนวคิดสู่การปฏิบัติในสังคมไทย ที่มุ่งเน้นการเรียนรู้แบบลงกระทำ คือได้จัดกระทำกับวัตถุมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล ความคิด และเหตุการณ์ จนสามารถสร้างองค์ความรู้ ด้วยตนเอง เอกสารนี้มุ่งจะอธิบายให้ครู พ่อแม่ และผู้ปกครอง ได้ทราบว่าการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป เด็กจะได้ รับการพัฒนาอย่างไรในแต่ละวัน ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างไร พ่อแม่จะสนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ อย่างไร
            การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย:ตามแนวคิดเรกจิโอเอมีเลีย เป็นการถอดแนวคิดสู่การปฏิบัติใน สังคมไทย ที่มุ่งเน้นให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านโครงการ ตามความสนใจของเด็ก การให้เด็กได้ลงมือกระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ภายในของเด็กแต่ละคน เอกสารนี้มุ่งจะอธิบาย ให้คร ูพ่อแม่ และผู้ปกครอง ได้ทราบว่าการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด เรกจิโอเอมีเลีย เด็กจะได้รับการพัฒนาอย่างไร ในแต่ละวันครูจะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างไร พ่อแม่ จะสนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างไร
            การเรียนรู้ของ เด็กปฐมวัยไทย:ตามแนวคิดมอนเตสซอรี่ เป็นการถอดแนวคิดสู่การปฏิบัติในสังคมไทย ที่มุ่งเน้นให้เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการของตนเอง จากสิ่งแวดล้อม ที่ได้เตรียมไว ้และให้เด็กประสบความสำเร็จตามความต้องการ การให้เด็กได้ลงมือกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ภายในของเด็กแต่ละคน เอกสารนี้มุ่งจะอธิบายให้ครู พ่อแม่ และ ผู้ปกครอง ได้ทราบว่าการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดมอนเตสซอรี่ เด็กจะได้รับการพัฒนาอย่างไร ในแต่ละ วันครูจะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างไร พ่อแม่จะสนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างไร

การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย : ตามแนวการเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาติแบบองค์รวม

            การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย:ตามแนวการเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาติแบบองค์รวม เป็นการถอดแนวคิดสู่การปฏิบัติในสังคมไทย ที่มุ่งเน้นการจัดสิ่งแวดล้อมด้านภาษาที่ดี ทั้งการฟัง การพูด การอ่าน และ การเขียน การให้เด็กได้ เรียนรู้ผ่านการลงมือกระทำด้วยตนเอง จนเกิดองค์ความรู้ และผลงานขึ้นเอง เอกสารนี้มุ่งจะอธิบายให้ครู พ่อแม่ และผู้ปกครอง ได้ทราบว่าการจัดการเรียนรู้ ตามแนวการเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาติแบบองค์รวม เด็กจะได้รับการพัฒนาอย่างไร ในแต่ละวันครูจะจัด กิจกรรมการเรียนการสอนอย่างไร พ่อแม่จะสนับสนุนให้เด็ก เกิดการเรียนรู้ได้อย่างไร
            การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย:ตามแนวคิดวอลดอร์ฟ เป็นการถอดแนวคิดสู่การปฏิบัติ ในสังคมไทย ที่มุ่งเน้นการจัดประสบการณ์สิ่งแวดล้อมที่ดี การให้เด็กได้ลงมือกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ภายในเด็กแต่ละคน เอกสารนี้มุ่งจะอธิบายให้ครู พ่อแม่ และผู้ปกครอง ได้ทราบว่าการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวอลดอร์ฟ เด็กจะ ได้รับการพัฒนาอย่างไร พ่อแม่จะสนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างไร